วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

วันสำคัญของไทย

วันสำคัญทางศาสนา
        วันสำคัญ หมายถึง วันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆในอดีต และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของวันนั้น ๆ รัฐ - ชุมชน หรือหน่วยงานจึงได้จัดให้มีพิธีการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนหรือคนในสังคมได้ตระหนัก และระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันนั้นด้วยความภาคภูมิใจ หรือเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามสืบทอดต่อกันมา ซึ่งวันสำคัญนี้จะมีหลายระดับ เช่น ระดับบุคคล ได้แก่ วันเกิด วันแต่งงาน ระดับหน่วยงาน ได้แก่ วันสถาปนาของหน่วยงานนั้นๆ ระดับชาติ ได้แก่ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันวิสาขบูชา และวันภาษาไทยแห่งชาติ เป็นต้น
        วันสำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่มีเหตุการณ์ที่สำคัญ อันเนื่องด้วยพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เหตุการณ์ที่สำคัญดังกล่าว เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า คือบริษัทสี่อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ให้น้อมรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในหลักที่สำคัญ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจรรโลงให้พระพุทธศาสนา ดำรงคงอยู่สถิตสถาพร เป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ตนเองและแก่สัตว์โลกทั้งปวง ซึ่งมิใช่จำกัดอยู่เพียงมนุษยชาติเท่านั้น
        วันสำคัญในพระพุทธศาสนา ตามลำดับความสำคัญ และตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้นคือ วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันมาฆบูชา วันเข้าพรรษา และออกพรรษา




การละเล่นของไทย

การละเล่นของไทย
         การละเล่นของไทย คือ การเล่นดั้งเดิมของเด็กและผู้ใหญ่ สืบทอดต่อกันมา เล่นเพื่อความบันเทิงใจ มีทั้งมีกติกาและไม่มีกติกา มีบทร้องหรือไม่มีบทร้อง บ้างมีท่าเต้นท่ารำประกอบเพื่อให้งดงามและสนุกสนานยิ่งขึ้น ผู้เล่นและผู้ชมสนุกร่วมกัน การ ละเล่นของไทยพบหลักฐานว่ามีมาแต่กรุงสุโขทัย แต่ที่ชัดเจนปรากฏในบทละครเรื่อง “มโนห์รา” ครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ การเล่นว่าว ลิงชิงเสา ปลาลงอวน การละเล่นไทยแตกต่างไปตามสภาพท้องถิ่นบางอย่างไม่สามารถจะชี้ขาด ลงไปได้ว่าเป็นการละเล่นของเด็กหรือของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม วิธีการเล่นส่วนใหญ่มีคุณค่าในทางเสริมสร้างพลานามัย ประเทืองปัญญา ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส ฝึกจิตใจให้งดงาม มีความสามัคคี และสร้างคนดี                                   
           เด็กๆในอดีตมีอิสระในการละเล่น สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ โดยคิดกฎกติกาได้เอง การละเล่นของเด็กไทยในอดีต ทั้งที่เล่นกลางแจ้งและในร่ม โดยส่วนใหญ่เลียนแบบจากการทำงานและอาชีพของผู้ใหญ่ หรือคิดการละเล่นใหม่ๆ เพื่อแข่งขันในหมู่เพื่อนกันเองโดยเฉพาะ
        การละเล่นของเด็กๆ หลายอย่างสามารถเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยที่เด็กรู้สึกเพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่เบื่อ วัสดุธรรมชาติอย่างเช่น ต้นกล้วย   หลังจากนำใบตองมาห่อของแล้ว ก้านกล้วยก็สามารถนำมาประดิษฐ์เป็น ม้าก้านกล้วย ให้เด็กๆนำมาวิ่งเล่นได้ด้วย

ประเพณีไทย : บุญบั้งไฟ



ประเพณีบุญบั้งไฟ


         ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนหกเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสานเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล เหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง  โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสาน เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล  และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติ
กับหมู่บ้านได้ ซึ่งจะจัดขึ้นทุก ๆ เดือนหกหรือพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี ด้วยความเชื่อตามเรื่องเล่านี้จึงทำให้ชาวอีสานทำบั้งไฟทุกปีเพื่อเตือนพญาแถน
          ประเพณีบุญบั้งไฟ ได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน บุญบั้งไฟเป็นบุญประเพณีที่มีความสำคัญมายาวนาน นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องหมายของความสามัคคีและมิตรภาพ และถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการขอฝนและต่อสู้กับความแห้งแล้ง ถึงแม้ว่าความเชื่อถือด้านเทวดาผู้ซึ่งเป็นเจ้าแห่งฝนในปัจจุบันได้ลดน้อยกว่าในสมัยก่อน แต่ชาวลาวยังคงยึดถือจารีตประเพณี ดั้งเดิมนี้ ด้วยการสืบทอดจากการเตรียมบุญบั้งไฟขึ้นในทุกๆปีก่อนฤดูเก็บเกี่ยว ควบคู่กับการจัดเตรียมบั้งไฟต่างๆของบุญนี้
         ประเพณีต่างๆทางศาสนาพุทธ เช่น การสูตรรดน้ำมนต์โดยเจ้าอาวาสวัดยังได้ถูกจัดขึ้นพร้อมๆกัน บุญบั้งไฟเป็นบุญประเพณีที่มีความหมายว่า ชาวไร่ชาวนาได้ทำการบูชาขอฝนจากพระยาแถน นอก
จากนี้แล้วบุญบั้งไฟยังเป็นวิธีเดียวที่มนุษย์ใช้สื่อสารกับเทวดาเพื่อเป็นการขอฝน
            คนอีสานทำบุญบั้งไฟโดยมีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น ขอน้ำฝน เชื่อมความภักดี แสดงการละเล่น และการบูชาพญาแถนบูชาคุณพระ
พุทธเจ้า ชาวอีสานส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนา เมื่อถึงเทศกาลเดือนหกซึ่งเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้าชาวอีสานจะพากันบูชาคุณของพระพุทธเจ้า โดยการจัดดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชาพระพุทธรูป การทำบุญบั้งไฟของชาวอีสานก็ถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยอามิสบูชาอย่างหนึ่งการทำบุญบั้งไฟจะมีการบวชพระเณร เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาพระและเณรเป็นคนใกล้ชิดและติดต่อกับพระพุทธเจ้าและพระธรรม พระยาขอมทำบุญบั้งไฟครั้งนั้นก็มีบวชเณรด้วย การบวชพระบวชเณรและสรงน้ำหอมพระเณร ก็รวมอยู่กันในประเพณีนี้ ดังนั้นการทำบุญบั้งไฟชาวอีสานจึงถือว่าเป็นการต่ออายุพระพุทธศาสนายืนยาวต่อไปการขอน้ำฝน การทำนาของชาวอีสานต้องอาศัยน้ำฝน น้ำฝนที่ชาวอีสานอาศัยนั้นชาว อีสานก็สร้างเองไม่ได้ ต้องขอจากเทพบุตร เทพยดา ตามตำนานเล่าไว้ว่า มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ วัสกาลเทพบุตรมีหน้าที่แต่งน้ำฟ้าน้ำฝนให้ตกลงมาชาวอีสานเชื่อตามตำนานนี้จึงทำบุญบั้งไฟเพื่อขอน้ำจากเทพบุตรองค์นั้นความสามัคคีคนในบ้านหนึ่งเมืองหนึ่ง ต่างพ่อต่างแม่ ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนาต่างจารีตประเพณีนั้นเมื่อมาอยู่รวมบ้านรวมเมืองเดียวกัน ต่างคนต่างอยู่ไม่ได้ ร่วมกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองนั้นก็หาความสุขความเจริญไม่ได้ ถ้าคนในบ้านในเมืองถือกันเหมือนพี่เหมือนน้องมีอะไรช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่วยกันรักษาพยาบาล การทำบุญบั้งไฟของชาวอีสานก็เพื่อเชื่อมความสามัคคีให้เกิดขึ้นในบ้านเมืองการแสดงการละเล่น การทำบุญบั้งไฟเป็นการปิดโอกาสให้ทุกคนมาแสดงการละเล่น คนเราเมื่อได้เล่นได้กินร่วมกัน จะเกิดความ
รักใคร่ใยดีต่อกัน การเล่นบางอย่างจะสุภาพเรียบร้อย บางอย่างหยาบโลน แต่ก็ไม่ถือสาหาความถือเป็นการเล่นเท่านั้น

ประเพณีไทย : การลอยกระทง


ประวัติความเป็นมาประเพณีลอยกระทง
       ลอยกระทง (Loi Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่
ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่กลาง
เดือน 11 ถึงกลางเดือน12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่ง
แม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง
 ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศ
ที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง  เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า 
พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม  ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์
เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ 
และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคม
เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 
ลอยโคมบูชาพระพุทธบาทณหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศ
อินเดีย
        การลอยกระทง ตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัยคิดทำกระทง
รูปดอกบัว และรูปต่างๆ  ถวายพระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหลในหนังสือ ตำรับท้าวศรี
จุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาล
กำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัม
ฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"
      

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู

หลักคุณธรรมสำหรับครู 
         ผู้บริหารการศึกษา ครูอาจารย์ อยู่ในฐานะที่เป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียน นักศึกษา การที่ศิษย์จะเคารพนับถือและมีความศรัทธาต่อครูอาจารย์ของตนนั้น ครูอาจารย์ต้องมีคุณธรรมเป็นปัจจัยสำคัญ 

คุณธรรม 4 ประการ 

         ประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม 
         ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดี 
         ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด 
         ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความเชื่อ และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อ ประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
         คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้มีความเจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว และจะช่วยใช้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังความประสงค์ ครู อาจารย์เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ควรถือปฏิบัติตามหลักคุณธรรมดังกล่าวเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ สถาบันวิชาชีพครูจะได้มีความเจริญก้าวหน้า สังคมและประเทศไทยจะได้มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป 
         นอกจากหลักธรรม 4 ประการดังกล่าวมาแล้ว ผู้บริหาร ครู อาจารย์และเจ้าหน้าที่ในสถาบันการศึกษา ยังต้องประพฤติและปฏิบัติตามหัวข้อธรรมดังกล่าว เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ และนักเรียน อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ การเรียนการสอนก็จะต้องจัดตามความมุ่งหมายของรัฐ 
         การศึกษาตามนัยแห่งแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520 เป็นกระบวนการต่อเนื่องกันตลอดชีวิต เพื่อมุ่งสร้างเสริมคุณภาพของพลเมืองให้สามารถดำรงชีวิตและทำประโยชน์แก่สังคม โดยเน้นการศึกษาเองสร้างเสริมความอยู่รอดปลอดภัย ความมั่นคงและความผาสุกร่วมกันในสังคมไทยเป็นประการสำคัญ จึงได้กำหนดความมุ่งหมายของการศึกษาไว้ 9 ข้อ 
         ความมุ่งหมายของการศึกษา 9 ข้อ เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่ดีงามของบุคคล เพื่อสร้างเสริมคุณภาพของพลเมือง ซึ่งอาจสรุปเป็น คุณลักษณะของคนไทยที่มีความจำเป็นจะต้องปลูกฝังให้ถึงพร้อมในสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้