วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเพณีไทย : บุญบั้งไฟ



ประเพณีบุญบั้งไฟ


         ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนหกเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสานเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล เหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง  โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสาน เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล  และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติ
กับหมู่บ้านได้ ซึ่งจะจัดขึ้นทุก ๆ เดือนหกหรือพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี ด้วยความเชื่อตามเรื่องเล่านี้จึงทำให้ชาวอีสานทำบั้งไฟทุกปีเพื่อเตือนพญาแถน
          ประเพณีบุญบั้งไฟ ได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน บุญบั้งไฟเป็นบุญประเพณีที่มีความสำคัญมายาวนาน นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องหมายของความสามัคคีและมิตรภาพ และถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการขอฝนและต่อสู้กับความแห้งแล้ง ถึงแม้ว่าความเชื่อถือด้านเทวดาผู้ซึ่งเป็นเจ้าแห่งฝนในปัจจุบันได้ลดน้อยกว่าในสมัยก่อน แต่ชาวลาวยังคงยึดถือจารีตประเพณี ดั้งเดิมนี้ ด้วยการสืบทอดจากการเตรียมบุญบั้งไฟขึ้นในทุกๆปีก่อนฤดูเก็บเกี่ยว ควบคู่กับการจัดเตรียมบั้งไฟต่างๆของบุญนี้
         ประเพณีต่างๆทางศาสนาพุทธ เช่น การสูตรรดน้ำมนต์โดยเจ้าอาวาสวัดยังได้ถูกจัดขึ้นพร้อมๆกัน บุญบั้งไฟเป็นบุญประเพณีที่มีความหมายว่า ชาวไร่ชาวนาได้ทำการบูชาขอฝนจากพระยาแถน นอก
จากนี้แล้วบุญบั้งไฟยังเป็นวิธีเดียวที่มนุษย์ใช้สื่อสารกับเทวดาเพื่อเป็นการขอฝน
            คนอีสานทำบุญบั้งไฟโดยมีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น ขอน้ำฝน เชื่อมความภักดี แสดงการละเล่น และการบูชาพญาแถนบูชาคุณพระ
พุทธเจ้า ชาวอีสานส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนา เมื่อถึงเทศกาลเดือนหกซึ่งเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้าชาวอีสานจะพากันบูชาคุณของพระพุทธเจ้า โดยการจัดดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชาพระพุทธรูป การทำบุญบั้งไฟของชาวอีสานก็ถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยอามิสบูชาอย่างหนึ่งการทำบุญบั้งไฟจะมีการบวชพระเณร เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาพระและเณรเป็นคนใกล้ชิดและติดต่อกับพระพุทธเจ้าและพระธรรม พระยาขอมทำบุญบั้งไฟครั้งนั้นก็มีบวชเณรด้วย การบวชพระบวชเณรและสรงน้ำหอมพระเณร ก็รวมอยู่กันในประเพณีนี้ ดังนั้นการทำบุญบั้งไฟชาวอีสานจึงถือว่าเป็นการต่ออายุพระพุทธศาสนายืนยาวต่อไปการขอน้ำฝน การทำนาของชาวอีสานต้องอาศัยน้ำฝน น้ำฝนที่ชาวอีสานอาศัยนั้นชาว อีสานก็สร้างเองไม่ได้ ต้องขอจากเทพบุตร เทพยดา ตามตำนานเล่าไว้ว่า มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ วัสกาลเทพบุตรมีหน้าที่แต่งน้ำฟ้าน้ำฝนให้ตกลงมาชาวอีสานเชื่อตามตำนานนี้จึงทำบุญบั้งไฟเพื่อขอน้ำจากเทพบุตรองค์นั้นความสามัคคีคนในบ้านหนึ่งเมืองหนึ่ง ต่างพ่อต่างแม่ ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนาต่างจารีตประเพณีนั้นเมื่อมาอยู่รวมบ้านรวมเมืองเดียวกัน ต่างคนต่างอยู่ไม่ได้ ร่วมกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองนั้นก็หาความสุขความเจริญไม่ได้ ถ้าคนในบ้านในเมืองถือกันเหมือนพี่เหมือนน้องมีอะไรช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่วยกันรักษาพยาบาล การทำบุญบั้งไฟของชาวอีสานก็เพื่อเชื่อมความสามัคคีให้เกิดขึ้นในบ้านเมืองการแสดงการละเล่น การทำบุญบั้งไฟเป็นการปิดโอกาสให้ทุกคนมาแสดงการละเล่น คนเราเมื่อได้เล่นได้กินร่วมกัน จะเกิดความ
รักใคร่ใยดีต่อกัน การเล่นบางอย่างจะสุภาพเรียบร้อย บางอย่างหยาบโลน แต่ก็ไม่ถือสาหาความถือเป็นการเล่นเท่านั้น

แหล่งที่มา
ประเภทของบั้งไฟ
          ประเภทของบั้งไฟ บั้งไฟมี 2 ประเภท
          ประเภทที่ 1 ได้แก่ บั้งไฟที่ไม่มีหาง เช่นบั้งไฟพุ บั้งไฟพะเนียง บั้งไฟตะไล บั้งไฟดอกไม้ บั้งไฟโครงขาว บั้งไฟม้า
          ประเภทที่ 2 ได้แก่ บั้งไฟที่มีหาง ซึ่งแบ่งเป็น 4หมวดหมู่ ดังนี้
          1. บั้งไฟน้อย เป็นบั้งไฟที่มีขนาดเล็กบั้งไฟชนิดนี้ถูกนำมาใช้เพื่อเสี่ยงทายดูว่าฝนจะตกต้องตาม
ฤดูกาลหรือไม่ ถ้าหากว่าบั้งไฟถูกยิงขึ้นไปสูงสุดหมายถึงฝนจะดี
          2. บั้งไฟร้อย เป็นบั้งไฟที่บรรจุดินปืนน้อยกว่า 12 กิโลกรัม ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อการแข่งขัน
          3. บั้งไฟหมื่น เป็นบั้งไฟที่บรรจุดินปืนระหว่าง 12119 กิโลกรัม
          4. บั้งไฟแสน เป็นบั้งไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งบรรจุดินปืน 120 กิโลกรัมการแห่บั้งไฟ

การทำบั้งไฟ
          ในสมัยก่อนการทำบั้งไฟจะใช้ไม้ไผ่ลำขนาดใหญ่ที่สุด ทะลวงปล้องให้ถึงกัน ภายนอกจะใช้ตอกไม้ไผ่ถักเป็นเชือกมัดรอบลำไผ่ให้แน่น
เพื่อไม่ให้ลำไผ่แตก ส่วนหัวปล้องสุดท้ายจะถูกอุดด้วยแผ่นไม้หนาพอควร แล้วทำการอัดบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ให้แน่นด้วยการตำ หรือใช้คานดีด
คานงัด (ในปัจจุบันใช้แม่แรงยกล้อรถบรรทุกแทนสะดวกกว่ากันดังภาพซ้ายมือ) ยุคสมัยเปลี่ยนไปจากลำไผ่กลายมาเป็นท่อเหล็กหรือท่อประปา
(ซึ่งอันตรายมากเมื่อมีการระเบิดใส่ผู้คนอย่างที่เป็นข่าว) ตอนหลังหันมาใช้ท่อพีวีซีแทนซึ่งก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี จากการบูชาแถนมาเป็นการ
พนันขันต่อเพื่อการเดิมพัน จำนวนบั้งไฟที่จุดในแต่ละที่จึงมีจำนวนมาก และสร้างความเสียหายต่อชุมชนในทิศที่บั้งไฟถูกจุดออกไป (เพราะ
สามารถไปไกลได้หลายสิบกิโลเมตร)

การจัดประเพณีบุญบั้งไฟ
          ก่อนจะถึงวันงานหรือวันเอาบุญ ชาวบ้านก็จะช่วยกันเตรียมงานกันอย่างสามัคคี ชาวบ้านที่ได้รับมอบหมายจะสร้างปะรำ หรือ "ผาม"หรือ "ตูบบุญฝ่ายแม่ครัวก็เตรียมข้าวปลาอาหารไว้เลี้ยงแขกเลี้ยงคน ฝ่ายช่างฟ้อนก็เตรียมขบวนรำไว้สำหรับแห่บั้งไฟ ฝ่ายผู้ชายที่เป็นช่างฝีมือก็ช่วยกันทำบั้งไฟและตกแต่งให้สวยงาม งานบุญบั้งไฟส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีพิธีกรรมทางศาสนาเท่าใดนักแต่บางแห่งก็มีพิธีทำบุญเลี้ยงพระบ้าง
          วันโฮม เป็นชาวบ้านก็จะมาตั้งขบวนเพื่อแห่บั้งไฟไปรอบ ๆ หมู่บ้าน เป็นงานบุญที่เน้นความสนุกสนานรื่นเริง ในขบวนจะมีการรำเซิ้งตามบั้งไฟ และบรรดาขี้เหล้าทั้งหลายก็จะร้องเพลงเซิ้งไปของเหล้าตามบ้านต่าง ๆ กาพย์เซิ้งอาจจะหยาบคายแต่ก็ไม่มีใครถือสากัน แต่กาพย์เซิ้งที่ใช้แห่ในขบวนมักจะเป็นประวัติและความเป็นมาของพิธีบุญบั้งไฟ
          วันจุดบั้งไฟก็อาจจะเป็นอีกวันหนึ่งคือเป็นวันที่ชาวบ้านจะเอาบั้งไฟของแต่ละคุ้มแต่ละหมู่บ้านมาจุดแข่งกัน ถ้าของใครทำมาดีจุดขึ้นได้สูงสุดก็จะชนะแต่ถ้าของใครแตกหรือซุก็ถือว่าแพ้ ต้องโดนลงโทษโดยการจับโยนลงโคลนหรือตมซึ่งเป็นที่สนุกสนานอย่างยิ่ง การจุดบั้งไฟเป็นการเสี่ยงทาย ถ้าบั้งไฟขึ้นสูง ก็ทำนายว่าฝนจะตกดี ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์
          ในปัจจุบันบุญบั้งไฟถือเป็นประเพณีที่ให้สาระของความสนุกสนานที่แฝงไว้ด้วยความเชื่อถือศรัทธาที่มีมาอย่างยาวนาน กิจกรรมทั้งหมดของประเพณีนี้ได้ถ่ายทอดความรู้สึก ภูมิปัญญาของชุมชนในเรื่องเทคโนโลยีพื้นบ้าน การเลือกไม้ไผ่มาทำบั้งไฟ การตัดไม้ไผ่โดยไม่เป็นอันตราย การบรรจุดินปืนลงกระบอกไม้ไผ่ ล้วนเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมสืบกันมา การตกแต่งบั้งไฟเป็นงานศิลปะ การเซิ้ง การรับลำ และความเชื่อในผีแถน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น