วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเพณีไทย : การลอยกระทง


ประวัติความเป็นมาประเพณีลอยกระทง
       ลอยกระทง (Loi Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่
ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่กลาง
เดือน 11 ถึงกลางเดือน12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่ง
แม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง
 ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศ
ที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง  เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า 
พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม  ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์
เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ 
และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคม
เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 
ลอยโคมบูชาพระพุทธบาทณหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศ
อินเดีย
        การลอยกระทง ตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัยคิดทำกระทง
รูปดอกบัว และรูปต่างๆ  ถวายพระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหลในหนังสือ ตำรับท้าวศรี
จุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาล
กำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัม
ฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"
      
แหล่งที่มา

คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้

   1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
   2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์
อยู่ในมหาสมุทร
   3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไป
จำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
   4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที 
เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
   5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
   6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
   7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก
หรือสะดือทะเล
                                                     การลอยกระทงในปัจจุบัน 
          การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอา
ไว้ได้ตามสมควร  เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน
12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรม
ชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัวนำมาประดิษฐ์เป็นกระทง
สวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำ
การลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมา
ต่อพระแม่คงคาตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง 
มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสม
โภชในตอนกลางคืนนอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ 
ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมา
ใช้กระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น