วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

การละเล่นของไทย

การละเล่นของไทย
         การละเล่นของไทย คือ การเล่นดั้งเดิมของเด็กและผู้ใหญ่ สืบทอดต่อกันมา เล่นเพื่อความบันเทิงใจ มีทั้งมีกติกาและไม่มีกติกา มีบทร้องหรือไม่มีบทร้อง บ้างมีท่าเต้นท่ารำประกอบเพื่อให้งดงามและสนุกสนานยิ่งขึ้น ผู้เล่นและผู้ชมสนุกร่วมกัน การ ละเล่นของไทยพบหลักฐานว่ามีมาแต่กรุงสุโขทัย แต่ที่ชัดเจนปรากฏในบทละครเรื่อง “มโนห์รา” ครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ การเล่นว่าว ลิงชิงเสา ปลาลงอวน การละเล่นไทยแตกต่างไปตามสภาพท้องถิ่นบางอย่างไม่สามารถจะชี้ขาด ลงไปได้ว่าเป็นการละเล่นของเด็กหรือของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม วิธีการเล่นส่วนใหญ่มีคุณค่าในทางเสริมสร้างพลานามัย ประเทืองปัญญา ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส ฝึกจิตใจให้งดงาม มีความสามัคคี และสร้างคนดี                                   
           เด็กๆในอดีตมีอิสระในการละเล่น สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ โดยคิดกฎกติกาได้เอง การละเล่นของเด็กไทยในอดีต ทั้งที่เล่นกลางแจ้งและในร่ม โดยส่วนใหญ่เลียนแบบจากการทำงานและอาชีพของผู้ใหญ่ หรือคิดการละเล่นใหม่ๆ เพื่อแข่งขันในหมู่เพื่อนกันเองโดยเฉพาะ
        การละเล่นของเด็กๆ หลายอย่างสามารถเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยที่เด็กรู้สึกเพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่เบื่อ วัสดุธรรมชาติอย่างเช่น ต้นกล้วย   หลังจากนำใบตองมาห่อของแล้ว ก้านกล้วยก็สามารถนำมาประดิษฐ์เป็น ม้าก้านกล้วย ให้เด็กๆนำมาวิ่งเล่นได้ด้วย
แหล่งที่มา
คุณค่าของการละเล่นไทย
         การละเล่นของไทย เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้านเท่า ๆ กันกับเป็นการสะท้อนวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และเนื่องจากเป็นการ “เล่น” ซึ่งผู้ใหญ่บางคนอาจไม่เห็นคุณค่า นอกจากเห็นว่าเป็นแค่เพียงความสนุกสนานของเด็ก ๆ หนำซ้ำการละเล่นบางอย่างยังเห็นว่าเป็นอันตราย และเป็นการบ่มเพาะนิสัยการพนันอีก เช่น ทอยกอง หว่าหากจะมอง วิเคราะห์กันอย่างจริงจังแล้ว คุณค่าของการละเล่นของไทยเรานี้มีนับเอนกอนันต์ ดังหัวข้อต่อไปนี้

ประโยชน์ทางกาย
• ฝึกความสังเกต ไหวพริบ และการใช้เชาวน์ปัญญา
• ฝึกวินัยและการเคารพต่อกติกา
• ฝึกความอดทน
• ฝึกความสามัคคีในคณะ
คุณค่าทางวรรณศิลป์
         คุณค่าในการใช้ภาษาสื่อสาร  
เป็นที่น่าสังเกตว่าบทร้องและบทเจรจาโต้ตอบนั้นมีคุณค่าในการสื่อสารอยู่มาก กล่าวคือ ทำให้เด็ก ๆ ได้คุ้นเคยกบคำที่ใช้เรียกชื่อ หรือใช้บอกกริยาอาการต่าง ๆ ช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการทางภาษาโดยไม่รู้ตัว ในบทเจรจาโต้ตอบก็เป็นคำถาม คำตอบสั้นๆ มีเนื้อความเป็นเรื่องเป็นราวเป็นคำพูดในชีวิตประจำวันบ้าง ดังในบทเล่นแม่งูหรือแม่งูสิงสางของภาคเหนือ บักมี่ดึงหนังของภาคอีสาน หรือฟาดทิงของทางใต้  
         การใช้ภาษาในการเล่นทายปริศนา  หรือคำทายต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ชอบเล่นทายกันนั้นวิเคราะห์ได้ว่า เป็นวิธีการที่ส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสัมพันธ์กับการใช้ภาษาทั้งนี้ เพราะปริศนาก็คือ การตั้งคำถามให้เด็กคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเคยพบ เคยเห็นมา ใครช่างสังเกตรู้จักคิดเปรียบเทียบความหมายของคำทายกับสิ่งที่ตนเคยพบเห็น ก็สามารถทายถูก ความสนุกจากการทายถูกจะเป็นแรงจูงใจให้เด็กพยายามใช้ความสังเกตควบคู่ไปกับ การใช้ภาษาเพิ่มขึ้น
วิ่งขาโถกเถก


การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัด
  ชัยภูมิ

อุปกรณ์และวิธีการเล่น

อุปกรณ์ 
         ไม้ไผ่กิ่ง ๒ ลำ ถ้าไม่มีก็เจาะรูแล้วเอาไม้อื่นๆ สอดไว้เพื่อให้เป็นที่วางเท้าได้

วิธีการเล่น 
         ผู้เล่นจะเลือกไม้ไผ่ลำตรง ๆ ที่มีกิ่ง ๒ ลำที่กิ่งมีไว้สำหรับวางเท้าต้องเสมอกันทั้ง ๒ ข้าง ผู้เล่นขึ้นไปยืนบนแขนงไม้เวลาเดินยกเท้าข้างไหนมือที่จับลำไม้ไผ่ก็จะยก ข้างนั้น ส่วนมากเด็ก ๆ ที่เล่นมักจะมาแข่งขันกัน ใครเดินได้ไวและไม่ตกจากไม้ถือว่าเป็นผู้ชนะ 

โอกาสที่เล่น
         การวิ่งขาโถกเถก ถือเป็นการละเล่นที่เล่นได้ทุกโอกาส โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์

คุณค่า / แนวคิด / สาระ
         นอก เหนือจากความสนุกสนานแล้ว ยังเป็นเครื่องมือในการออกกำลังกาย บริหารส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี เดิมผู้ที่ใช้ขาโถกเถกเป็นชายหนุ่มไปเกี้ยวสาว เสียงเดินจากไม้เมื่อสาวได้ยินก็จะมาเปิดประตูรอเพื่อพูดคุยกันตามประสา หนุ่มสาว หรือบ้านสาวเลี้ยงสุนัขไม้โถกเถกยังเป็นอุปกรณ์ไล่สุนัขได้ด้วย

รีรีข้าวสาร

วิธีเล่น
      1. ผู้เล่น 2 คนยืนหันหน้าเข้าหากันโน้มตัวประสานมือกันเป็นรูปซุ้ม
      2. ส่วนผู้อื่นเกาะเอวต่อ ๆ กันตามลำดับ
      3. หัวแถวจะพาลอดใต้ซุ้มมือพร้อมกับร้องบทร้องประกอบการเล่น
      4. เมื่อร้องถึงประโยคที่ว่า “คอยพานคนข้างหลังไว้” ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันคนสุดท้ายไว้ ซึ่งคนสุดท้ายจะถูกคัดออกไปจากแถว แล้วจึงเริ่มต้นเล่นใหม่ทำเช่นนั้นจนหมดคน

 เพลงร้องประกอบ
       "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
       เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน
       คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว้"

 คุณค่า/แนวคิด/สาระ
      1. ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
      2. เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
      3. หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
      4. หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น